ลักษณะและการทำงาน ของ ไกเซอร์ (ธรณีวิทยา)

ไกเซอร์เป็นลักษณะทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นชั่วคราว โดยอายุของไกเซอร์จะมีอายุเพียงไม่กี่พันปีเท่านั้น ไกเซอร์โดยปกติแล้วมักเกิดบริเวณร่วมกับภูเขาไฟ ในขณะที่น้ำเดือด ผลจากแรงดันทำให้ดันน้ำขึ้นมาตามท่อนำส่งน้ำพุร้อนขึ้นมาตามแนวดิ่งสู่ผิวโลก รูปแบบของไกเซอร์จะมีลักษณะ 3 ประการทางธรณีวิทยาที่มักพบภูมิประเทศที่มีภูเขาไฟร่วมด้วย ดังนี้

ความร้อนสูง

ไกเซอร์จะได้รับความร้อนจากหินหนืดใต้ผิวโลก และในหลักตามความเป็นจริงแล้วไกเซอร์จะต้องการความร้อนสูงจากหินหนืดที่อยู่ติดกับแหล่งที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำก่อนที่จะปล่อยน้ำเดือดออกสู่ผิวโลก เพื่อให้น้ำเดือดและมีแรงดันน้ำสู่ผิวโลกได้

น้ำ

น้ำที่ปล่อยมาจากไกเซอร์ต้องมาจากน้ำใต้ดินที่ผ่านความลึก และต้องผ่านการเพิ่มความดันภายใต้แผ่นเปลือกโลก

ระบบการลำเลียงน้ำ

ระบบการลำเลียงน้ำร้อนจะรวมถึงแหล่งที่เก็บน้ำระหว่างที่เกิดการเดือดอีกด้วย ไกเซอร์มักจะวางตัวตามแนวเดียวกับแนวรอยเลื่อน ระบบการลำเลียงน้ำเกิดจากการเกิดรอยแตกและรูพรุน หรือช่องว่าง และการหดตัวของช่องว่าง หรือรูพรุนเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดแรงดันก่อนเกิดการปะทุออกของน้ำออกสู่ภายนอก

สุดท้ายแล้วอุณหภูมิที่ด้านล่างของไกเซอร์จะมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับจุดเดือด ไอน้ำและฟองที่เกิดจากการเดือดของน้ำ จะเดินทางขึ้นสู่ผิวน้ำตามท่อลำเลียงน้ำ ในขณะที่มีการระเบิดออกจากท่อลำเลียงน้ำ น้ำร้อนบางส่วนล้นออกมาและกระเด็นไปรอบๆ ทำให้มีการลดความดันของน้ำที่อยู่ด้านล่างลงได้ จากการปล่อยความดันออกในอุณหภูมิที่สูงมากทำให้บางส่วนออกมาในรูปของไอน้ำ